ตัวเล็ก
และ ใจใหญ่... ฮ่าๆๆๆ ทำยากแฮะ ตอนนี้ก็ตัวใหญ่จนลดลงไม่ได้แล้วครับ
สงสัยต้องเปลี่ยนหัวเรื่องเป็น ตัวใหญ่ และ ใจใหญ่ กระมัง...
...คนเป็นวิทยากรกรนี่
ตกเป็นเป้าสายตาเลยนะครับ อารมณ์ของการอยู่ต่อหน้าผู้คน มันทำให้เรารู้สึกโดดเด่น
ทำให้เรารู้สึกสำคัญ ทำให้เรารู้สึกว่าได้รับการยอมรับ ผู้คนพร้อมที่จะฟัง ครั้งเดียวยังไม่เท่าไหร่ครับ
เมื่อผ่านเวทีมากๆ เข้า เริ่มมั่นใจมากขึ้น ส่วนมากก็จะได้รับคำชม “โอ คักน้อ (คักน้อ เป็นภาษาอีสานครับ ตีความได้ว่า สุดยอด เจ๋ง) อาจารย์.... อาจารย์พูดดีเนาะ ฟังแล้วสนุก... ทำยังงัยถึงจะเก่งแบบอาจารย์นี่...
สุดยอดเลยอาจารย์...” และ อีกสารพัดคำชมเชย ซึ่งผมรับฟังและเคารพในอารมณ์ความรู้สึกของผู้เข้ารับการอบรมอย่างตั้งใจ
เป็นสิ่งที่มีค่ามากมาย เพราะกลั่นออกมาจากอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างกันไปตามการรับรู้ของแต่ละคน...
ขอบคุณมากครับ... ฟังบ่อยๆ หัวใจพองโต มีพลังอย่างบอกไม่ถูก
ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ตามความหมายของคำว่า “มืออาชีพ” ของผม “การสร้างคน”...
ฟังบ่อยๆ หัวใจพองโต ฟังเรื่อยๆ ตัวก็จะเริ่มโต เก็บมาคิดเป็นอารมณ์ ทีนี้โตทั้งใจ โตทั้งตัว คิดว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซะแล้ว อารมณ์ “จมไม่ลง” เริ่มมาเยือน อาการแบบไหนหรือที่เรียกว่า “จมไม่ลง” ก็...เริ่มคิดว่าตัวเอง “แน่” ใครพูดอะไรให้ฟังก็เริ่มแย้งในใจ, พูดกับตัวเองว่าเขาคิดยังงี้ได้งัย, เขาพูดไม่ทันจบก็พูดแทรก, เริ่มพูดคำว่า เชื่อผมสิ, มองหน้าแล้วตัดสินคนทันทีว่าไม่รอด, อืม...คิดได้แค่นี้ จะไหวไหมเนี่ย, เรื่องง่ายๆ แค่นี้ยังไม่เข้าใจอีก... ผมว่ามันเป็นเส้นบางๆ เอง ที่จะทำให้เราลืมตัวเอง หลงตัวเองได้ง่ายๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นแน่นอนครับ ถ้าสติตามไม่ทัน และ ลืมเป้าหมายของตัวเองในการเป็นวิทยากร อารมณ์จะแรงไม่แรง ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง... ทำงัยล่ะ???... ต้องอยู่กับปัจจุบันสิครับ (ยากนะแต่ต้องทำ) มีสติ ใช้เครื่องมือหลากหลายมาก ทั้งดูลมหายใจ ทั้งดูอารมณ์ ณ ขณะนั้น แต่ที่ผมใช้ได้ผล เมื่อมีอาการแบบนั้น ผมจะบอกตัวเองเสมอว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างคน” ไม่ใช่ “คำชม” ถ้าเทียบกับรถยนต์คำชมเป็นเหมือนกับรูปลักษณ์ภายนอกที่ตกแต่งสวยหรู และเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่องที่หล่อลื่นเครื่องยนต์ให้รถคันสวยนั้นวิ่งอวดสายตาผู้คน...แต่จริงๆ แล้วเราต้องไปถึงเป้าหมายปลายทางของเรา...
ฟังบ่อยๆ หัวใจพองโต ฟังเรื่อยๆ ตัวก็จะเริ่มโต เก็บมาคิดเป็นอารมณ์ ทีนี้โตทั้งใจ โตทั้งตัว คิดว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซะแล้ว อารมณ์ “จมไม่ลง” เริ่มมาเยือน อาการแบบไหนหรือที่เรียกว่า “จมไม่ลง” ก็...เริ่มคิดว่าตัวเอง “แน่” ใครพูดอะไรให้ฟังก็เริ่มแย้งในใจ, พูดกับตัวเองว่าเขาคิดยังงี้ได้งัย, เขาพูดไม่ทันจบก็พูดแทรก, เริ่มพูดคำว่า เชื่อผมสิ, มองหน้าแล้วตัดสินคนทันทีว่าไม่รอด, อืม...คิดได้แค่นี้ จะไหวไหมเนี่ย, เรื่องง่ายๆ แค่นี้ยังไม่เข้าใจอีก... ผมว่ามันเป็นเส้นบางๆ เอง ที่จะทำให้เราลืมตัวเอง หลงตัวเองได้ง่ายๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นแน่นอนครับ ถ้าสติตามไม่ทัน และ ลืมเป้าหมายของตัวเองในการเป็นวิทยากร อารมณ์จะแรงไม่แรง ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง... ทำงัยล่ะ???... ต้องอยู่กับปัจจุบันสิครับ (ยากนะแต่ต้องทำ) มีสติ ใช้เครื่องมือหลากหลายมาก ทั้งดูลมหายใจ ทั้งดูอารมณ์ ณ ขณะนั้น แต่ที่ผมใช้ได้ผล เมื่อมีอาการแบบนั้น ผมจะบอกตัวเองเสมอว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างคน” ไม่ใช่ “คำชม” ถ้าเทียบกับรถยนต์คำชมเป็นเหมือนกับรูปลักษณ์ภายนอกที่ตกแต่งสวยหรู และเปรียบเสมือนน้ำมันเครื่องที่หล่อลื่นเครื่องยนต์ให้รถคันสวยนั้นวิ่งอวดสายตาผู้คน...แต่จริงๆ แล้วเราต้องไปถึงเป้าหมายปลายทางของเรา...
...การทำใจให้ใหญ่นั้น ต้องฝึกนะครับ ฝึกชื่นชมความงดงามของการเรียนรู้
ความพยายามของผู้คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้เขาได้ค้นพบตัวเอง พบทางเลือก
ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ แต่อย่าไปคาดหวังอะไรมากมายว่าเขาจะเปลี่ยนเพราะเราสอน
ถ้าเขาจะต้องเปลี่ยน เขาจะเปลี่ยนเพราะตัวเขาเอง และเพื่อตัวเขาเอง "วิทยากรเป็นเพียงตัวจุดประกายเล็กๆ ในชีวิตของผู้คน"
ดังนั้น ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด บอกตัวเองให้ได้ว่าความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงมิได้เกิดจากการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวันเดียว
แต่ถ้าเขาได้แนวทางที่ดีๆ ก็เชื่อได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ต้องเชื่อในศักยภาพของบุคคล
ทุกคนมีดีในตัว มีสิ่งที่ต้องปรับปรุง ดังนั้น เปิดใจรับกับความจริงเหล่านี้ให้ได้ครับ
แล้วชีวิตการเป็นวิทยากร(มือ)อาชีพ จะสนุกและมีสีสันขึ้นอีกเยอะ...
...ถ้าคุณจะเป็นวิทยากรที่ "ตัวเล็ก และใจใหญ่" คุณต้องมีเป้าหมายและยึดเป้าหมายเป็นสรณะ...ชื่นชมความงดงามของการเรียนรู้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้...และ เชื่อมั่นในศักยภาพของคนครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น