...ทบทวนกันอีกครั้งครับ...การกำหนดเป้าหมายชีวิตมี ๔ ขั้นตอน...
การค้นหา "ความปรารถนาของชีวิต"
การค้นหา "วิชาชีพ"
การค้นหา "คุณค่างานของเราที่มีให้กับสังคมนี้ โลกใบนี้" และ...
การค้นหา "ภารกิจในการใช้ชีวิต"...
...ในการค้นหา "ภารกิจในการใช้ชีวิต" ให้เรานำเอาสิ่งที่เราได้พิจารณาแล้วว่า "โลกนี้ สังคมนี้ ต้องการอะไร" มาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไปร่วมกับ "สิ่งที่เรารัก" เราก็จะได้ข้อสรุปออกมาครับ...
...และ เช่นเคยครับ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างของผู้เขียนเองในการกำหนด "ภารกิจในการใช้ชีวิต"...ผู้เขียนเชื่อว่า "โลกนี้ สังคมนี้ ต้องการผู้ฟังที่ดี ต้องการคนมองโลกในแง่ดี ต้องการความสงบสุข ต้องการสันติภาพ ต้องการผู้นำทางความคิด"...ส่วนสิ่งที่ตัวเองรัก คือ "การเดินทางท่องเที่ยว รักการเขียนหนังสือ รักการอ่านหนังสือ ชอบขับรถ ชอบการสร้างคน สอนคน รักที่จะทำเรื่องเล็กๆ แต่มีพลัง..."
...เมื่อนำสองส่วนนี้มาพิจารณาแล้ว ผู้เขียนก็จะได้ "ภารกิจในการใช้ชีวิต" ว่า "การสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ที่จะสร้างพลังชีวิตให้กับคนอื่น สร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม..."
...ในขั้นตอนต่อไป ก็คือการกำหนดเป้าหมายชีวิตของตัวเองครับ โดยแนวคิด Ikigai ปรัชญาหนึ่งในการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น บอกไว้ว่า "สิ่งที่จะทำให้เราตื่นขึ้นมา และกระโดดออกจากเตียง ลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างเบิกบานใจ"...การกำหนดเป้าหมายชีวิตโดยปรัชญาแนวนี้ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนครับ...ผู้เขียนเองก็ได้กำหนดเป้าหมายตามแนวคิดนี้ไว้ว่า "ผู้เขียนจะเป็นนักเล่าเรื่องเพื่อสร้างพลังชีวิต และสร้างทางเลือกในการพัฒนาตัวเอง และพัฒนาสังคม..."
...คงจะไม่ยากเท่าไหร่นะครับ ในการค้นหาตัวเอง และ กำหนดเป้าหมายชีวิตของตัวเอง...ขอเพียงให้เราใช้เวลากับตัวเอง พิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป...บางคนอาจจะใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หลายเดือนก็เป็นไปได้ นั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาครับ เพราะแต่ละคนก็ผ่านประสบการณ์มามากมาย แตกต่างกันไป...ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณาครับ "ชีวิตเป็นของเราเอง ทำในสิ่งที่มีความสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นทุกข์ เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามแรงที่มี" ก็เอาล่ะครับ...
เรื่องเล่าหลากรส ทั้งสุข ทั้งเศร้า คละเคล้ากันไป เพราะชีวิตคือการเรียนรู้....การเรียนรู้ทำให้ชีวิตมีรสชาติที่หลากหลาย..ไม่ชิม ไม่สัมผัส ไม่ลอง ไม่รู้...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่มีผู้เข้าอ่านมากที่สุด
-
...ມີຫຼາຍເທືອທີ່ມີນ້ອງໆ ມາຖາມຜູ້ຂຽນວ່າ " ອາຈານ ເຮົາຊີຮູ້ໄດ້ແນວໃດ ວ່າເຮົາພັດທະນາຕົວເອງຮອດຂັ້ນໃດແລ້ວ...ທັ້ງໆ ທີ່ຕັ້ງຕົວວັດແທກ ແລະ ຄວ...
-
ສິ່ງທີ່ຕ້ອງປະເມີນໃນເລື່ອງວັດທະນະທຳອົງກອນ . ..ເນື້ອໃນຂ້າງລຸ່ມນີ້ ມາຈາກຕອນທີ່ເວົ້າເຖີງເລື່ອງນີ້... " ວັດທະນະທຳອົງກອນ"... ...
-
ທັກສະຂອງຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳທີ່ມີປະສິດທິຜົນ ... “ ອາຈານ ຫົວໜ້າໃຫ້ນ້ອງເປັນຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳກັບໂຄງການຂະໜາດນ້ອຍທີ່ຮັບທຶນຈາກໂຄງການ ແຕ່ນ້ອງຍັງບໍ່ໝັ້ນ...
-
ການສື່ສານທີ່ມີປະສິດທິຜົນ ...ຜູ້ຂຽນເຫັນສະໄລ້ແຜ່ນນີ້ແລ້ວເຫັນວ່າ ມັນສາມາດອະທິບາຍຂະບວນການເຮັດວຽກໂຄງການ ຜ່ານການສື່ສານທີ່ມີປະສິດທິພາບ ປະສິ...
-
ທັກສະທີ່ຈຳເປັນສຳລັບຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳທີ່ມີປະສິດທິຜົນ .. . “ ສະບາຍດີອາຈານ ບໍ່ໄດ້ພົບກັນດົນແລ້ວນໍ້ ” ...ສຽງທັກທາຍຂອງລູກສິດ... “ ນ້ອງຄາວຽກຫຼາຍແດ...
-
..."ອາຈານ ຄົນທຸກມື້ນີ້ເວົ້າບໍ່ຄ່ອຍຄິດໜ້າ ຄິດຫຼັງເນາະ ເວົ້າໄວ ປາກໄວ ຄົນຟັງກໍຮູ້ສຶກບໍ່ຄ່ອຍດີໄປນຳ"...😒 ..."ໂດຍ...ເຫັນດີນຳ...
-
ບົດສົນທະນາລະຫວ່າງລູກສິດກັບອາຈານ ໃນເວລາອາຫານທ່ຽງຂອງວັນໜຶ່ງ... ລູກສິດຖາມອາຈານ "ອາຈານ...ມີທາງລັດແດ່ບໍ່ ທີ່ຈະເຮັດໃຫ້ເຮົາປະສົບຄວາມສຳເລັດໃນ...
-
? ທ່ານເຄີຍຕັ້ງຄຳຖາມແບບນີ້ກັບຕົວເອງບໍ່ ຖ້າຄິດຢາກຈະພັດທະນາອົງກອນ ... 1. ...ການພັດທະນາອົງກອນ ຈຳເປັນ ຫຼື ບໍ່ຈຳເປັນ...? 2. ...ການພັດທະນາອ...
-
😍 ...ປັນຮັກ...ຮັກຫຼາຍແທ້ບໍ້...ຫຼາຍຈົນໄດ້ປັນໃຫ້ກັນນໍ້... ...ວັນນີ້ຜູ້ຂຽນແລະທີມງານຄຸນນະພາບ 😉 ໄດ້ມີໂອກາດໄປຍ່ຽມຢາມ "ສວນປັນຮັກ" ...
-
...ຄິດໄປຄິດມາ ຕາຍລ່ະ😓 ປີນີ້ຍັງບໍ່ໄດ້ໄປກວດສຸຂະພາບເລີຍ ທັ້ງໆ ທີ່ຮູ້ວ່າ ການກວດສຸຂະພາບປະຈຳປີເປັນເລື່ອງທີ່ດີ ແລະ ອາຍຸປະມານສ່ຳເຮົານີ້ ກໍຖືວ່າຈຳເ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น