...หลังจากที่เราได้ค้นหา ๔ องค์ประกอบแล้ว ถือว่าเราได้ผ่านขั้นตอน "การค้นหาตัวเอง" มาแล้วครับ ต่อไปเราจะเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายชีวิตของเรากันครับ...เรามาดูกันว่าเราจะใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบทั้ง ๔ นี้กันได้อย่างไร...
ขั้นที่ ๑ ให้เราดู "สิ่งที่เรารัก" คู่กับ "สิ่งที่เราถนัด" ครับ และสรุปออกมาให้ได้ใจความที่บ่งบอกถึง "ความปรารถนาของชีวิต" ผู้เขียนแปลจากคำว่า Passion ครับ จริงๆ คำนี้ถ้าแปลตรงตัว แปลได้ว่า ความหลงใหล ความหมายลึกซึ้งครับ ก็เลยใช้คำที่เข้าใจง่ายหน่อย...ความปรารถนาของชีวิต เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ใช้พลังชีวิตในด้านที่เรารัก และเราถนัด มาผสมผสานกัน ทำให้เราชัดเจนมากขึ้น...
...ขอยกตัวอย่างของผู้เขียน...ผู้เขียน "รัก" ในเรื่องการเดินทาง ท่องเที่ยว โดยเฉพาะไปเดินป่า ขึ้นเขา, รักการอ่านหนังสือ, รักการขับรถ, รักในการสร้างคน สอนคน, รักที่จะทำเรื่องเล็กๆ แต่มีพลัง...
...ผู้เขียน "ถนัด" เรื่องการฟังคน ฟังเพื่อเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก, ถนัดในเรื่องการวิเคราะห์บุคลิกภาพของคน, ถนัดในเรื่องการสนทนาเพื่อให้ข้อคิดกับคนอื่น และกระตุ้นให้คนได้ใช้พลังที่มีอยู่ในตัวเองให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น...
...เมื่อนำ ๒ องค์ประกอบนี้มีกำหนด "ความปรารถนาของชีวิต" ก็จะสรุปได้ว่า "การท่องเที่ยวหาประสบการณ์, นำมาถ่ายทอดเรื่องราวด้วยการเขียน, การเล่าเรื่อง, เพื่อให้กำลังใจผู้คน, เป็นที่ปรึกษาด้านชีวิต และการงาน..."...นี่คือ Passion ของผู้เขียนครับ...
ขั้นที่ ๒ เราจะนำเอา "สิ่งที่เราถนัด" กับ "สิ่งที่เราทำ แล้วเกิดรายได้เลี้ยงตัวเอง" มาพิจารณา เราก็จะได้ "วิชาชีพ (Profession)"...พูดง่ายๆ คือเครื่องมือทำมาหากินนั่นล่ะครับ...
ขั้นที่ ๓ นำเอา "สิ่งที่เราทำ แล้วเกิดรายได้เลี้ยงตัวเอง" กับ "สิ่งที่โลกต้องการ" มาพิจารณา เราก็จะได้ "คุณค่าของงานที่เราทำที่มีต่อสังคม (Vocation)"...
ขั้นที่ ๔ นำเอา "สิ่งที่โลกต้องการ" มาพิจารณากับ "สิ่งที่เรารัก" เราก็จะได้ "ภารกิจ (Mission)" คือได้ทำในสิ่งที่รัก และมีคุณค่าต่อโลกใบนี้...
...รายละเอียดในขั้นที่ ๒-๔ จะเล่าสู่กันฟังในตอนต่อไปครับ...
เรื่องเล่าหลากรส ทั้งสุข ทั้งเศร้า คละเคล้ากันไป เพราะชีวิตคือการเรียนรู้....การเรียนรู้ทำให้ชีวิตมีรสชาติที่หลากหลาย..ไม่ชิม ไม่สัมผัส ไม่ลอง ไม่รู้...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่มีผู้เข้าอ่านมากที่สุด
-
...ມີຫຼາຍເທືອທີ່ມີນ້ອງໆ ມາຖາມຜູ້ຂຽນວ່າ " ອາຈານ ເຮົາຊີຮູ້ໄດ້ແນວໃດ ວ່າເຮົາພັດທະນາຕົວເອງຮອດຂັ້ນໃດແລ້ວ...ທັ້ງໆ ທີ່ຕັ້ງຕົວວັດແທກ ແລະ ຄວ...
-
ສິ່ງທີ່ຕ້ອງປະເມີນໃນເລື່ອງວັດທະນະທຳອົງກອນ . ..ເນື້ອໃນຂ້າງລຸ່ມນີ້ ມາຈາກຕອນທີ່ເວົ້າເຖີງເລື່ອງນີ້... " ວັດທະນະທຳອົງກອນ"... ...
-
ທັກສະຂອງຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳທີ່ມີປະສິດທິຜົນ ... “ ອາຈານ ຫົວໜ້າໃຫ້ນ້ອງເປັນຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳກັບໂຄງການຂະໜາດນ້ອຍທີ່ຮັບທຶນຈາກໂຄງການ ແຕ່ນ້ອງຍັງບໍ່ໝັ້ນ...
-
ການສື່ສານທີ່ມີປະສິດທິຜົນ ...ຜູ້ຂຽນເຫັນສະໄລ້ແຜ່ນນີ້ແລ້ວເຫັນວ່າ ມັນສາມາດອະທິບາຍຂະບວນການເຮັດວຽກໂຄງການ ຜ່ານການສື່ສານທີ່ມີປະສິດທິພາບ ປະສິ...
-
ທັກສະທີ່ຈຳເປັນສຳລັບຜູ້ໃຫ້ຄຳແນະນຳທີ່ມີປະສິດທິຜົນ .. . “ ສະບາຍດີອາຈານ ບໍ່ໄດ້ພົບກັນດົນແລ້ວນໍ້ ” ...ສຽງທັກທາຍຂອງລູກສິດ... “ ນ້ອງຄາວຽກຫຼາຍແດ...
-
..."ອາຈານ ຄົນທຸກມື້ນີ້ເວົ້າບໍ່ຄ່ອຍຄິດໜ້າ ຄິດຫຼັງເນາະ ເວົ້າໄວ ປາກໄວ ຄົນຟັງກໍຮູ້ສຶກບໍ່ຄ່ອຍດີໄປນຳ"...😒 ..."ໂດຍ...ເຫັນດີນຳ...
-
ບົດສົນທະນາລະຫວ່າງລູກສິດກັບອາຈານ ໃນເວລາອາຫານທ່ຽງຂອງວັນໜຶ່ງ... ລູກສິດຖາມອາຈານ "ອາຈານ...ມີທາງລັດແດ່ບໍ່ ທີ່ຈະເຮັດໃຫ້ເຮົາປະສົບຄວາມສຳເລັດໃນ...
-
? ທ່ານເຄີຍຕັ້ງຄຳຖາມແບບນີ້ກັບຕົວເອງບໍ່ ຖ້າຄິດຢາກຈະພັດທະນາອົງກອນ ... 1. ...ການພັດທະນາອົງກອນ ຈຳເປັນ ຫຼື ບໍ່ຈຳເປັນ...? 2. ...ການພັດທະນາອ...
-
😍 ...ປັນຮັກ...ຮັກຫຼາຍແທ້ບໍ້...ຫຼາຍຈົນໄດ້ປັນໃຫ້ກັນນໍ້... ...ວັນນີ້ຜູ້ຂຽນແລະທີມງານຄຸນນະພາບ 😉 ໄດ້ມີໂອກາດໄປຍ່ຽມຢາມ "ສວນປັນຮັກ" ...
-
...ຄິດໄປຄິດມາ ຕາຍລ່ະ😓 ປີນີ້ຍັງບໍ່ໄດ້ໄປກວດສຸຂະພາບເລີຍ ທັ້ງໆ ທີ່ຮູ້ວ່າ ການກວດສຸຂະພາບປະຈຳປີເປັນເລື່ອງທີ່ດີ ແລະ ອາຍຸປະມານສ່ຳເຮົານີ້ ກໍຖືວ່າຈຳເ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น